The Evolution of FACoBOT

  • FACoBOT

      FACoBOT คือ หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (AMRs : Autonomous Mobile Robots) ที่พัฒนาโดยทีมงาน บริษัท เลิศวิลัยแอนด์ซันส์ จำกัด ใช้สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถด้านโลจิสติกส์ภายในโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมทั้งช่วยลดการเกิดความผิดพลาดของการทำงาน 

  • FACoBOT

      หุ่นยนต์ FACoBOT ยังสามารถกำหนดและปรับเปลี่ยนเส้นทางในการรับส่งสินค้าด้วยตัวคุณเองได้ผ่านทางโปรแกรม FACoBOT Manager อีกทั้งยังสามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัยด้วยการกำหนดระยะการป้องกัน (Safety zone) และการหลบหลีกสิ่งกีดขวาง (Collision avoidance) จากโปรแกรมของเรา และเรายังสามารถออกแบบระบบหรือปรับเปลี่ยน Module ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ อาทิเช่น Conveyor Module , Cart Towing , Pallet Lift , Cobot Module , Piggy Back เป็นต้น

  • .

FACoBOT MILESTONE

2564
พ.ศ.

FACoBOT

หุ่นยนต์รุ่นนี้ได้ถูกนำเอา Platform จากรุ่นพี่ทั้ง 3 มาพัฒนาและต่อยอดให้สามารถใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมได้หลากหลาย Applications เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรม 4.0 อาทิเช่น Conveyor Module , Cart Towing , Pallet Lift , Cobot Module , Piggy Back เป็นต้น

2563
พ.ศ.

MuM III

เป็นรุ่นที่ถูกต่อยอดจากรุ่น MuM II ทางทีมได้นำเอาข้อดีข้อเสียมาปรับปรุงเป็นหุ่นยนต์รุ่น MuM III โดยหุ่นยนต์รุ่นนี้ได้ถูกออกแบบมาสำหรับใช้กับชุด Food/Medicine Dispensing Module เพื่อนำไปใช้เสิร์ฟอาหารให้กับผู้ป่วยในช่วงสถานการณ์โควิด19 เพื่อลดการสัมผัสระหว่างผู้ป่วยกับพยาบาล โดยหุ่นยนต์นี้ได้ถูกนำไปบริจาคให้กับโรงพยาบาลในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ภายใต้โครงการ “มดบริรักษ์” เช่นกัน

2563
พ.ศ.

MuM II

เนื่องด้วยสถานะการโควิด 19 ทางทีมได้นำเอาโปรเจคที่ทำวิทยานิพนธ์มาปรับปรุงและพัฒนาร่วมกับสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO)  เพื่อนำไปช่วยคุณหมอและพยาบาล ในโรงพยาบาลแม่สอด โดยที่หุ่นตัวนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับชุด UVc Module ในการฆ่าเชื้อไวรัสสำหรับห้องที่ใช้รักษาผู้ป่วย โดยโครงการได้รับการพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า “มดบริรักษ์”
 

2562
พ.ศ.
 

MuM I

MuM : Multi-Functional Mobility

MuM I คืองานวิจัยพัฒนา ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภาควิชาสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ได้มาฝึกงานและทําวิทยานิพนธ์ (Thesis) ด้วยทุนงานวิจัยจากโครงการของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) และบริษัทเลิศวิลัยแอนด์ซันส์จำกัด